วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

                                                      แผนการจัดการเรียนรู้ที่    6

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์               วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม    ค33201

หน่วยการเรียนรู้ที่  1  แคลคูลัสเบื้องต้น      เรื่อง การประยุกต์ของอนุพันธ์

                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6      จำนวน     4     ชั่วโมง


1.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
   มาตรฐาน ค 6.1  ตัวชี้วัด ค 6.1 ม.6/1-6
2.ผลการเรียนรู้
                      1.      นำความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์ของฟังก์ชันไปใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์ได้
      3.จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1    ด้านความรู้
                      1.      บอกทฤษฎีบทเกี่ยวกับฟังก์ชันลดและฟังก์ชันเพิ่ม  บนช่วงใด ๆ  และนำไปใช้ได้
                      2.      บอกความหมายและหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชันได้
                      3.      หาค่าวิกฤตและจุดวิกฤตของฟังก์ชันได้
                      4.      หาค่าต่ำสุดสัมบูรณ์และค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชันที่กำหนดให้ได้
                      5.      นำความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์ของฟังก์ชันไปใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์การหาค่าสูงสุด
                                สัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ได้
3.2    ด้านทักษะ
                        1. ใช้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหา
                        2. ใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                       3. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
                       4. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
                       5. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ
                      6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3    ด้านคุณลักษณะ
1.       มีความรับผิดชอบ
2.       มีระเบียบวินัย

1.       ทำงานอย่างมีระบบ
2.       มีความรอบคอบ
3.       มีวิจารณญาณ
4.       ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
4.สาระการเรียนรู้
                1.   ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด
                2.   การหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน
                3.   การหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน
                4.   โจทย์เกี่ยวกับการหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
      5.การบูรณาการ
1.       บูรณาการกับกลุ่มสาระภาษาไทย
2.       บูรณาการกับกลุ่มสาระสังคม  ศาสนาและวัฒนธรรม
3.       บูรณาการกับกลุ่มสาระศิลปะ
6.กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
1.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบว่า  เมื่อเรียนจบแผนการเรียนรู้นี้แล้ว  นักเรียนจะสามารถ  
          -  บอกทฤษฎีบทเกี่ยวกับฟังก์ชันลดและฟังก์ชันเพิ่มบนช่วงใด ๆ และนำไปใช้ได้
          -  บอกความหมายและหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชันได้
          -  หาค่าวิกฤตและจุดวิกฤตของฟังก์ชันได้
          -  หาค่าต่ำสุดสัมบูรณ์และค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชันที่กำหนดให้ได้
          -  นำความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์ของฟังก์ชันไปใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์การหาค่า
             สูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ได้
     2.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน  โดยใช้การถาม ตอบ
     3.  นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการสอน  รหัสที่  9.1  แล้วร่วมกันสรุปความหมายของฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด  โดยครูคอยชี้แนะแนวทางจนกว่านักเรียนสามารถสรุปได้  หลังจากนั้นให้บันทึกลงในแบบสรุปเนื้อหา  รหัสที่  9
     4.  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.1  แล้วเปลี่ยนกันตรวจตามแผนภูมิเฉลยและบันทึกคะแนนที่ได้ไว้  โดยครูตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
     5.  ครูชมเชยนักเรียนที่ทำแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.1  ได้ตั้งแต่  70%  ขึ้นไป  เพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้ของนักเรียน
     6.  ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.1  ข้อที่นักเรียนส่วนใหญ่ทำผิดบนกระดาน  เพื่อให้นักเรียนได้เห็นข้อบกพร่องของตนเองและนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
ชั่วโมงที่ 2
     1.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดบนช่วงใด ๆ  โดยใช้การถาม ตอบ
     2.  นักเรียนจับคู่กันศึกษาเอกสารประกอบการสอน  รหัสที่  9.2  แล้วร่วมกันสรุปวิธีการหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์  และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์  โดยครูคอยชี้แนะแนวทางจนนักเรียนสามารถสรุปได้  หลังจากนั้นบันทึกลงในแบบสรุปเนื้อหา  รหัสที่ 
     3.  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.2  แล้วเปลี่ยนกันตรวจตามแผนภูมิเฉลยและบันทึกคะแนนที่ได้ไว้  โดยครูตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
   4.  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำเอกสารเสริมความรู้  เรื่องการหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน  เป็นผลงานของกลุ่มส่งครูผู้สอนนอกเวลาเรียน
ชั่วโมงที่ 3
     1.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์  โดยใช้การถาม ตอบ
     2.  นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการสอน  รหัสที่  9.3  แล้วร่วมกันสรุปวิธีกาหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์  โดยครูคอยชี้แนะแนวทางจนกว่านักเรียนสามารถสรุปได้  หลังจากนั้นบันทึกลงในแบบสรุปเนื้อหา  รหัสที่  9
     3.  ครูเขียนโจทย์การหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าตำสุดสัมบูรณ์บนกระดาน  แล้วให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ  เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนอีกครั้ง
     4.  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.3  เป็นการบ้านเพื่อเสริมทักษะและความแม่นยำในการเรียนรู้ชั่วโมงที่ 4
1.  ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.3  แล้วให้นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจ  และบันทึกคะแนนที่ได้ไว้  โดยครูตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
     2.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์  โดยใช้การถาม ตอบ
     3.  นักเรียนดูแผ่นโปร่งใส  รหัสที่  9.1 – 9.2  แล้วเขียนผลการเรียนรู้ลงในแบบสรุปผลการเรียนจากแผ่นโปร่งใส  โดยมีครูอธิบายและแนะนำ
     4.  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.4  แล้วเปลี่ยนกันตรวจตามแผนภูมิเฉลย  และบันทึกคะแนนที่ได้ไว้  โดยครูตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
     5.  นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  เพื่อประเมินความก้าวหน้าหลังจากเรียนจบหน่วยการเรียนที่  2  (แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3 – 9)  แล้ว
     6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำ  Mind Map  เรื่อง  อนุพันธ์ของฟังก์ชันเป็นผลงานของกลุ่ม  ส่งครูนอกเวลา
7.             สื่อการเรียนรู้
                1.   เอกสารประกอบการสอน  รหัสที่  9.1 – 9.3
                2.   แบบฝึกทักษะ  รหัสที่  9.1 – 9.4
                3.   แบบสรุปเนื้อหา  รหัสที่  9
                4.   แผ่นโปร่งใส  รหัสที่  9.1 – 9.2
8.             แหล่งการเรียนรู้
                1.   ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                2.   ห้องสมุดโรงเรียน
                3.   ห้องสมุดประชาชน
                4.   อินเตอร์เนต
9.     หลักฐานการเรียนรู้
                1.   แบบฝึกทักษะ   รหัสที่  9.1 – 9.4
                2.   แบบสรุปเนื้อหา  รหัสที่  9
                3.   Mind Map  เรื่อง  อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
10.  การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

                  การวัดผล

การประเมินผล
1.  สังเกตจากการตอบคำถาม
2.  สังเกตจากการร่วมกิจกรรม
3.  การทำแบบฝึกทักษะ
4.  การทำใบกิจกรรม
5.  การทำแบบสรุปเนื้อหา
6.  การทำเอกสารฝึกหัดเพิ่มเติม
1.  นักเรียนส่วนใหญ่ตอบคำถามได้ถูกต้อง
2.  นักเรียนสนใจร่วมกิจกรรมดี
3.  นักเรียนส่วนใหญ่ทำได้ถูกต้อง
4.  นักเรียนส่วนใหญ่ทำได้ถูกต้อง
5.  นักเรียนส่วนใหญ่สรุปเนื้อหาได้ถูกต้อง
6.  นักเรียนส่วนใหญ่ทำได้ถูกต้อง  สวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น